Saturday, August 2, 2008

การบรรยายเเรื่อง addmission,GAT,PAT โดย อาจารย์วิริยะ ฤาชัยพาณิชย


อาจารย์วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์

การศึกษา
- โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์
- ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ศึกษาปริญญาเอกด้านการศึกษา RMU. USA.
- อบรม สัมมนาด้านการศึกษาจากประเทศ อังกฤษ อเมริกา และ ออสเตรเลีย

ผลงานด้านการศึกษาและสังคม
ผู้ก่อตั้ง www.eduzones.com
เวบรางวัลชนะเลิศ The Nation Thailand web award 2000 สาขาการศึกษาและบริการสังคม และเป็นเวบไซด์การศึกษาที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในประเทศ
กรรมาธิการวิสามัญฝ่ายการศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่
กรรมการตรวจสอบการทำงานระบบแอดมิชชั่น กระทรงศึกษาธิการ
วิทยากรพิเศษ สภาการศึกษาแห่งชาติ
วิทยากรพิเศษ กรรมาธิการฝ่ายการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร
วิทยากรพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วิทยากรพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

วิทยากรพิเศษ สถานศึกษา สมาคมครู เครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ โรงเรียนสายปัญญา โรงเรียนจิตลดา โรงเรียนในเครืออัสสัมชัญ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนลำปางกัลยานี โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ โรงเรียนในเครือจุฬาภรณ์ โรงเรียนชลกัลยานุกูล โรงเรียนเบญจมมหาราช โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ

วิทยากรพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยพายัพ ฯลฯ

- เป็นผู้เขียน บทความทางการศึกษา ลง หนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ เช่น นิตยสารการศึกษาวันนี้ หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก หนังสือพิมพ์ภูเก็ตโพสต์ ฯลฯ
- เป็นผู้เขียน Pocket Book The future career สาขาแห่งอนาคต
- เป็นผู้ดำเนินรายการ TV ถนนสายการศึกษา Nation Channel
- ผู้ก่อตั้งและดำเนินรายการ สถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษา แห่งแรกในประเทศ “Channel E”
ผู้พัฒนาโครงการ ฝึกอบรมด้านความคิดสร้างสรรค์ Creative Plus
เป็นผู้ทำงานวิจัยและเผยแพร่ ผลงาน ด้านการศึกษาในด้านสาขาอาชีพแห่งอนาคต
ประธานเครือข่ายประชาชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
ผู้จัดงานนิทรรศการ สร้างวิสัยทัศน์นักเรียนไทย ในโครงการ Freedom Classroom
Future Classroom และ Eduzones to School ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2544จนปัจจุบันทุกปี ปีละ60-80โรงเรียน

แรงบันดาลใจ และแนวทางการเขียนบทความและการบรรยาย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรมากมาย นักเรียนไทย ใช้เวลาในห้องเรียน มากเป็นอันดับหนึ่งของโลกเด็กไทยเรียนเก่ง สอบเก่ง แข่งขันได้ในระดับนานาชาติ เรามีคนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปีละหลายแสนคน และที่จบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีในประเทศเราก็มีมากมาย
แต่คนส่วนใหญ่ในประเทศ ยังยากจน
คนที่ได้รับการศึกษาก็ยังเชื่อเรื่องงมงาย เป็นทาสทางความคิด และถูกวัฒนธรรมต่างประเทศเข้าครอบงำ ไม่สามารถนำความรู้มาพัฒนาตนเองและสังคมได้ ด้วยความเชื่อว่า การส่งเสริมให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ รักการค้นคว้า และนำความรู้มาพัฒนาตนเองและสังคม คือเป้าหมายที่สูงสุดของการให้การศึกษา
อยากเห็นการศึกษาที่ไม่เป็นเพียงแค่การสอบและใบปริญญา
อยากเห็นคนไทยที่ใช้ความรู้และความคิดในการดำเนินชีวิต
อยากเห็นความรู้และข้อมูลต่างๆกระจายไปอย่างทั่วถึง
และอยากเห็นเด็กไทยรักและสำนึกในความเป็นไทย
จึงใช้การเขียนแล ะการพูด สร้างความสุข ความหวัง และความคิด ให้กับผู้อ่าน ผู้ฟัง เพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีการศึกษา
- เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและจัดทำ Website การศึกษา www .eduzones .com The best education site The Nation Thailand web award 2000 และเป็นเวบการศึกษาที่มีสมาชิกและผู้ใช้บริการสูงสุดในประเทศ ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี2000 จนปัจจุบัน มีสมาชิกลงทะเบียนกว่า 400,000 คน
- จัดทำโปรแกรมเพื่อการศึกษา เช่น โปรแกรมค้นหาตนเอง โปรแกรมช่วยเลือกคณะในระบบแอดมิชชั่น ฯลฯ

บรรยายที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย วันที่ 2 สิงหาคม 2551 เตรียมตัวอย่างไรใน admission ปี 2553 จัดโดยผู้ปกครองนักเรียนชั้น ม. ห้า ครับ

1.บทนำ 2. 3. 4. 5. 6. 7.1 7.2

คลิกขวาที่ลิ้งค์ ข้างบนแล้ว save target as เลยครับ มีทั้งหมด 7 files


Tags: , ,

ปฏิทิน ตารางสอบ GAT-PAT ปี 2552

ปฏิทินการทดสอบศักยภาพทั่วไปหรือ GAT และการทดสอบศักยภาพทางวิชาชีพหรือ PAT ประจำปีการศึกษา 2552 ดังนี้

*
วันที่ 1-15 พ.ย. 2551 : รับสมัครทางเว็บไซต์ www.niets.or.th
*
วันที่ 7-30 พ.ย. 2551 : ชำระเงินผ่านธนาคาร
*
วันที่ 16-31 ธ.ค. 2551 : ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ เลขที่นั่งสอบ สนามสอบ

ตารางการสอบ

*
วันที่ 17 ม.ค. 2552
- เวลา 09.00-12.00 น. สอบ GAT
- เวลา 13.00-16.00 น. สอบ PAT 1 หรือการวัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
*
วันที่ 18 ม.ค. 2552
- เวลา 09.00-12.00 น. สอบ PAT 2 หรือ ศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
- เวลา 13.00-16.00 น. สอบ PAT 3 หรือศักยภาพทางวิศว กรรมศาสตร์

ประกาศผลสอบ : วันที่ 5 มีนาคม 2552

* ข้อสอบ GAT จะเป็นเรื่องของการวัดการอ่าน การเขียน การคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา รวมทั้งการสื่อสารภาษาอังกฤษ

* PAT จะเป็นการวัดเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานของการเรียนต่อร่วมกัน

โดยข้อสอบ GAT และ PAT จะมีทั้งข้อสอบปรนัยและอัตนัย คะแนนเต็มอย่างละ 300 คะแนน และจะจัดการทดสอบดังกล่าวปีละ 3 ครั้ง ประมาณเดือนมกราคม พฤษภาคมและธันวาคม ซึ่งนักเรียนจะสมัครสอบกี่ครั้งก็ได้เพื่อเลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด และคะแนนที่ได้จากการสอบแต่ละครั้งจะมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่สอบ อย่างไรก็ตามปฏิทินการทดสอบดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553

GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553

เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้

1. ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย

1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %

2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %

3) GAT 10-50 %

4) PAT 0-40 %

รวม 100 %

หมายเหตุ

1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้

2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป

3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ

2.รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT

1. เนื้อหา

- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%

- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%

2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย

- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง

- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair

- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก

- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ

3. จัดสอบปีละหลายครั้ง

- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)

3. รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT

1. PAT มี 6 ชุด คือ

PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์

เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills

PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์

เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์

เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability

PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์

เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์

เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ

“อย่างไรก็ตาม มีข้อเรียกร้องจากสมาคมฝรั่งเศสที่เสนอขอให้ ทปอ.จัดสอบเรื่องภาษาที่ 2 ด้วย ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของเด็ก โดยจะขอให้เพิ่มเป็น PAT 7 และย่อยลงไปเป็น 7.1 , 7.2 ตาม ลำดับ แต่ ทปอ.เสนอว่าให้ทางสมาคมจัดสอบล่วงหน้าก่อนได้และให้กำหนดในเงื่อนไขแอดมิ ชชั่นว่าผู้ที่จะสอบในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้จะต้องผ่านการ สอนวัดความรู้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการมาเพิ่มเป็น PAT 7 สทศ.ก็ต้องมาทำการทบทวน PAT ทั้ง 6 ใหม่ ซึ่งก็จะยุ่งยากอีก”ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า สำหรับข้อสอบ PAT นั้น ได้เชิญอาจารย์ทีเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นผู้ออกข้อสอบ โดย สทศ.จะอธิบายความต้องการ วัตถุประสงค์การออกให้ทราบ และเมื่ออาจารย์ออกข้อสอบเสร็จแล้วก้จะนำเข้าคลังข้อสอบในรอบแรกก่อนนำมา เข้ากระบวนการกลั่นกรองเพื่อเข้าคลังข้อสอบของ สทศ. ใหม่อีกครั้ง

2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย

- คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง

- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก

- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ

3. จัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง

- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด

ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 300 คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ 2 ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553